การวิเคราะห์ลูกค้าทางการตลาด สามารถดำเนินการได้โดยใช้เครื่องมือ STP ประกอบไปด้วย
1. การแบ่งส่วนตลาด (Segmentation) สามารถกำหนดการแบ่งส่วนผู้บริโภคได้ 4 ตัวแปร ประกอบไปด้วย
1.1 ตัวแปรลักษณะทางประชากรศาสตร์ (Demographic) เช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ อาชีพ เป็นต้น
1.2 ตัวแปรด้านภูมิศาสตร์ (Geographic) ซึ่งสามารถกำหนดได้โดยดูความสอดคล้องของที่ตั้ง เช่น การเลือกกลุ่มลูกค้าที่ใกล้สถานที่หรือช่องทางการจัดจำหน่ายขององค์กร ขนาดของประเทศ เมือง หรืออยู่ในภูมิภาคเดียวกัน เป็นต้น
1.3 ตัวแปรด้านจิตวิทยา (Pychographic) เป็นการเลือกแบ่งส่วนตลาดที่คำนึงหรือพิจารณาบุคลิกภาพของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เช่น กลุ่มนักดนตรี จะสนใจสินค้าที่มีอัตลักษณ์ด้านดนตรีผสมผสานในสินค้า หรือกลุ่มคนสมัยใหม่จะไม่นิยมอ่านหนังสือแต่ใช้หนังสือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Book)
1.4 ตัวแปรด้านฤติกรรม (Behaviouristic) เป็นการแบ่งส่วนตลาดที่พิจารณาพฤติกรรมของลูกค้า เช่น ซื้อบ่อย หรือซื้อ Brand เดิมๆ เสมอ เช่น บุคคลที่บริโภคเครื่องดื่มเบียร์หรือไวน์ จะเลือกบริโภค Brand เดิมๆ เสมอ
2. การเลือกตลาดเป้าหมาย (Targeting) เป็นการดำเนินการเพื่อกำหนดตลาดที่น่าสนใจสำหรับองค์กร ซึ่งโดยส่วนมากจะนิยมพิจารณาจาก ความน่าสนใจของตลาด การเติบโตของตลาด วัตถุประสงค์และทรัพยากร ตลอดจนความพร้อมของบริษัท ทั้งนี้การเลือกตลาดเป้าหมาย ประกอบไปด้วย
2.1 กลยุทธ์ตลาดรวม หมายถึง การมีผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองตลาดๆ ได้หลายตลาด
2.2 กลยุทธ์มุ่งเฉพาะตลาดส่วนเดียว หรือเฉพาะส่วน คือ การมีผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้นไปที่ตลาดใดตลาดหนึ่งโดยเฉพาะ
2.3 กลยุทธ์ตลาดหลายส่วน คือ การมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและนำเสนอไปยังหลายๆ ตลาด
3. การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (Positioning)
คือการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์เพื่อให้สอดคล้องและสามารถนำเสนอให้ลูกค้าได้รับรู้ และเข้าใจในตำแหน่งผลิตภัณฑ์ขององค์กร ซึ่งควรดำเนินการวิจัยเพื่อค้นหาตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขันให้ทราบก่อนที่จะมีการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ขององค์กรเพื่อให้เกิดความแตกต่างอย่างมีคุณค่า ทั้งนี้สามารถพิจารณาองค์ประกอบ เช่น ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ ด้านบริการ ด้านบุคลากร และด้านภาพลักษณ์ เป็นต้น
ดังนั้นการวิเคราะห์ลูกค้าคือการวิเคราะห์และกำหนด STP เพื่อให้เข้าใจกลุ่มลูกค้าเป้าหมายขององค์กรได้ชัดเจน และสามารถนำไปกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีความเหมาะสมและสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืนต่อไป
1. การแบ่งส่วนตลาด (Segmentation) สามารถกำหนดการแบ่งส่วนผู้บริโภคได้ 4 ตัวแปร ประกอบไปด้วย
1.1 ตัวแปรลักษณะทางประชากรศาสตร์ (Demographic) เช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ อาชีพ เป็นต้น
1.2 ตัวแปรด้านภูมิศาสตร์ (Geographic) ซึ่งสามารถกำหนดได้โดยดูความสอดคล้องของที่ตั้ง เช่น การเลือกกลุ่มลูกค้าที่ใกล้สถานที่หรือช่องทางการจัดจำหน่ายขององค์กร ขนาดของประเทศ เมือง หรืออยู่ในภูมิภาคเดียวกัน เป็นต้น
1.3 ตัวแปรด้านจิตวิทยา (Pychographic) เป็นการเลือกแบ่งส่วนตลาดที่คำนึงหรือพิจารณาบุคลิกภาพของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เช่น กลุ่มนักดนตรี จะสนใจสินค้าที่มีอัตลักษณ์ด้านดนตรีผสมผสานในสินค้า หรือกลุ่มคนสมัยใหม่จะไม่นิยมอ่านหนังสือแต่ใช้หนังสือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Book)
1.4 ตัวแปรด้านฤติกรรม (Behaviouristic) เป็นการแบ่งส่วนตลาดที่พิจารณาพฤติกรรมของลูกค้า เช่น ซื้อบ่อย หรือซื้อ Brand เดิมๆ เสมอ เช่น บุคคลที่บริโภคเครื่องดื่มเบียร์หรือไวน์ จะเลือกบริโภค Brand เดิมๆ เสมอ
2. การเลือกตลาดเป้าหมาย (Targeting) เป็นการดำเนินการเพื่อกำหนดตลาดที่น่าสนใจสำหรับองค์กร ซึ่งโดยส่วนมากจะนิยมพิจารณาจาก ความน่าสนใจของตลาด การเติบโตของตลาด วัตถุประสงค์และทรัพยากร ตลอดจนความพร้อมของบริษัท ทั้งนี้การเลือกตลาดเป้าหมาย ประกอบไปด้วย
2.1 กลยุทธ์ตลาดรวม หมายถึง การมีผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองตลาดๆ ได้หลายตลาด
2.2 กลยุทธ์มุ่งเฉพาะตลาดส่วนเดียว หรือเฉพาะส่วน คือ การมีผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้นไปที่ตลาดใดตลาดหนึ่งโดยเฉพาะ
2.3 กลยุทธ์ตลาดหลายส่วน คือ การมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและนำเสนอไปยังหลายๆ ตลาด
3. การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (Positioning)
คือการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์เพื่อให้สอดคล้องและสามารถนำเสนอให้ลูกค้าได้รับรู้ และเข้าใจในตำแหน่งผลิตภัณฑ์ขององค์กร ซึ่งควรดำเนินการวิจัยเพื่อค้นหาตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขันให้ทราบก่อนที่จะมีการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ขององค์กรเพื่อให้เกิดความแตกต่างอย่างมีคุณค่า ทั้งนี้สามารถพิจารณาองค์ประกอบ เช่น ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ ด้านบริการ ด้านบุคลากร และด้านภาพลักษณ์ เป็นต้น
ดังนั้นการวิเคราะห์ลูกค้าคือการวิเคราะห์และกำหนด STP เพื่อให้เข้าใจกลุ่มลูกค้าเป้าหมายขององค์กรได้ชัดเจน และสามารถนำไปกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีความเหมาะสมและสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืนต่อไป
สรุปโดย ปัญญภณ เทพประสิทธิ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น